วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2556

คริสเตียนต้องร้กษาวันสะบาโตไหม

บ่อยครั้งมีการอ้างว่า “พระเจ้าทรงสถาปนาวันสะบาโตในสวนเอเดน” เนื่องจากการเกี่ยวข้องระหว่างวันสะบาโตและการทรงสร้างในหนังสืออพยพ 20:11 แม้ว่าการที่พระเจ้าจะทรงพักผ่อนในวันที่เจ็ด (ปฐมกาล 2:3) จะเป็นเงาในการตั้งกฎแห่งวันสะบาโตในอนาคตขึ้นมาก็ตาม ก่อนหน้าที่ชนชาติอิสราเอลจะออกจากอียิปต์พระคัมภีร์ไม่ได้พูดถึงวันสะบาโต เลย ไม่มีพระคัมภีร์ตอนไหนที่บอกว่าผู้คนตั้งแต่สมัยอาดัมจนถึงโมเสสยึดถือวันสะ บาโต

พระวจนะของพระเจ้าตรัสไว้อย่างชัดเจนว่าการรักษาวันสะบาโตเป็นหมายสำคัญ ระหว่างพระเจ้าและชนชาติอิสราเอล “โมเสสขึ้นไปเฝ้าพระเจ้า พระเจ้าตรัสจากภูเขานั้นว่า "บอกวงศ์วานยาโคบและชนชาติอิสราเอลดังนี้ว่า`พวกเจ้าได้เห็นกิจการซึ่งเรา กระทำกับชาวอียิปต์แล้ว และที่เราเทิดชูเจ้าขึ้น ดุจดังด้วยปีกนกอินทรี เพื่อนำเจ้ามาถึงเรา เหตุฉะนั้นถ้าเจ้าฟังเสียงเรา และรักษาพันธสัญญาของเราไว้ เจ้าจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเราที่เราเลือกสรรท่ามกลางชนชาติทั้งปวง เพราะแผ่นดินทั้งสิ้นเป็นของเรา” (อพยพ 19:3–5)

“เหตุฉะนี้ ชนชาติอิสราเอลจึงถือวันสะบาโตตลอดชั่วชาติพันธุ์ของเขาเป็นพันธสัญญา เนืองนิตย์ เป็นหมายสำคัญระหว่างเรากับชนชาติอิสราเอลว่า ในหกวันพระเจ้าได้ทรงสร้างฟ้าสวรรค์และแผ่นดินโลก แต่ในวันที่เจ็ดพระองค์ได้ทรงงดการงานไว้ และได้ทรงหย่อนพระทัยในวันนั้น” (อพยพ 31:16–17)

ในเฉลยธรรมบัญญัติ 5 โมเสสโยงบัญญัติสิบประการไปถึงชนชาติอิสราเอลรุ่นถัดไป ในตอนนี้ หลังจากที่ได้สั่งให้พวกเขารักษาวันสะบาโตในข้อ 12-14 แล้ว โมเสสยังให้เหตุผลว่าทำไมคนอิสราเอลจึงต้องรักษาวันสะบาโต: “จงระลึกว่าเจ้าเคยเป็นทาสอยู่ในแผ่นดินอียิปต์ และพระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้าได้พาเจ้าออกมาจากที่นั่นด้วยพระหัตถ์อันทรง ฤทธิ์ และด้วยพระกรที่เหยียดออก เหตุฉะนี้พระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้าได้ทรงบัญชาให้เจ้ารักษาวันสะบาโต” (เฉลยธรรมบัญญัติ 5:15)

จงสังเกตคำว่าเหตุฉะนี้ พระประสงค์ของพระเจ้าในการกำหนดวันสะบาโตให้กับคนอิสราเอลไม่ใช่เพื่อให้พวก เขาจำการทรงสร้าง แต่เพื่อให้พวกเขาจำการเป็นทาสในอียิปต์และการทรงปลดปล่อยพวกเขาให้เป็น อิสระ จงสังเกตุข้อเรียกร้องในการรักษาวันสะบาโต: คนที่ถือวันสะบาโตออกจากที่พักของตนไม่ได้ (อพยพ 16:29), ก่อไฟไม่ได้ (อพยพ 35:3) ให้ใครทำการงานใด ๆ ไม่ได้ (อพยพ 5:14) ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎแห่งวันสะบาโตจะต้องถูกลงโทษถึงตาย (อพยพ 31:15; กันดารวิถี 15:32–35)

จากการค้นคว้าข้อพระคัมภีร์ในพันธสัญญาใหม่เราได้พบหัวข้อสำคัญสี่หัวข้อ คือ: 1) เมื่อใดที่พระคริสต์ปรากฏพระองค์ในสภาพหลังการฟื้นคืนพระชนม์และมีการบอกวัน ไว้ วันนั้นจะเป็นวันแรกของสัปดาห์เสมอ (มัทธิว 28:1, 9, 10; มาระโก 16:9; ลูกา 24:1, 13, 15; ยอห์น 20:19, 26) 2) ครั้งเดียวที่วันสะบาโตถูกกล่าวถึงตั้งแต่ในหนังสือกิจการจนถึงวิวรณ์ก็ เพื่อการประกาศต่อคนยิว และสถานที่ในการประกาศก็คือในธรรมศาลา (กิจการยทที่ 13–18) ท่านเปาโลเขียนว่า “ต่อพวกยิว ข้าพเจ้าก็ทำตัวเหมือนยิว เพื่อจะได้พวกยิว” (1 โครินธ์ 9:20) ท่านเปาโลไม่ได้ไปที่ธรรมศาลาเพื่อมีสามัคคีธรรมและเสริมสร้างธรรมิกชน แต่เพื่อให้พวกเขารู้สึกผิดและช่วยผู้หลงหายให้รอด 3) ครั้งหนึ่งท่านเปาโลประกาศว่า “ตั้งแต่นี้ไปข้าพเจ้าจะไปหาคนต่างชาติ” (กิจการ 18:6), วันสะบาโตไม่ได้ถูกกล่าวถึงอีกเลย, และ 4) แทนที่ส่วนที่เหลือในพระคัมภีร์ใหม่จะเสนอแนะให้ยึดติดกับวันสะบาโต, ข้อพระคัมภีร์กลับชี้แนะไปยังทิศทางตรงกันข้าม (รวมถึงข้อยกเว้นหนึ่งข้อจากหนังสือโคโลสี 2:26 สำหรับข้อ 3 ข้างต้น)

หากเราดูให้ละเอียดยิ่งขึ้น ข้อ 4 ข้างต้นจะเปิดเผยว่าไม่ได้มีการบังคับให้ผู้เชื่อในพันธสัญญาใหม่รักษาวันสะ บาโต และแสดงให้เห็นด้วยว่าแนวความคิดที่ว่าวันอาทิตย์เป็นวัน “สะบาโตสำหรับคริสเตียน” ไม่มีในพระคัมภีร์เช่นเดียวกัน ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น มีอยู่ครั้งเดียวที่วันสะบาโตถูกนำมากล่าวถึงหลังจากที่ท่านเปาโลเริ่มเน้น ที่คนต่างชาติ, “เหตุฉะนั้นอย่าให้ผู้ใดพิพากษาปรักปรำท่านในเรื่องการกินการดื่ม ในเรื่องเทศกาล วันต้นเดือน หรือวันสะบาโตสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเงาของเหตุการณ์ที่จะมีมาในภายหลัง แต่กายนั้นเป็นของพระคริสต์” (โคโลสี 2:16–17) วันสะบาโตของชาวยิวได้ถูกลบล้างออกไปที่กางเขนที่ซึ่งพระคริสต์ “ทรงฉีกกรรมธรรม์ซึ่งได้ผูกมัดเราด้วยบัญญัติต่างๆซึ่งขัดขวางเรา” (โคโลสี 2:14)

แนวความคิดนี้ได้ถูกย้ำมากกว่าหนึ่งครั้งในพันธสัญญาใหม่: “คนหนึ่งถือว่าวันหนึ่งดีกว่าอีกวันหนึ่ง แต่อีกคนหนึ่งถือว่าทุกวันเหมือนกัน ขอให้ทุกคนมีความแน่ใจในความคิดเห็นของตนเถิด ผู้ที่ถือวันก็ถือเพื่อถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า ผู้ที่กินก็กินเพื่อถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า เพราะเขาขอบพระคุณพระเจ้า และผู้ที่ไม่ได้กิน ก็มิได้กิจเพื่อถวายเกียรติแค่องค์พระผู้เป็นเจ้า และยังขอบพระคุณพระเจ้า” (โรม 14:5–6ก) “แต่บัดนี้เมื่อท่านรู้จักพระเจ้าแล้ว หรือที่ถูกก็คือพระเจ้าทรงรู้จักท่านแล้ว เหตุไฉนท่านจึงจะกลับไปหาวิญญาณต่างๆซึ่งอ่อนแอและอเนจอนาถ และอยากจะเป็นทาสของสิ่งเหล่านั้นอีก ท่านถือวัน เดือน ฤดู และปี” (กาลาเทีย 4:9–10)

แต่บางคนอ้างว่ากษัตริย์คอนสแตนตินได้ “เปลี่ยน” วันสะบาโตจากวันเสาร์มาเป็นวันอาทิตย์ในปีคศ 321 คริสตจักรในยุคแรกประชุมนมัสการกันวันไหน? พระคัมภีร์ไม่เคยพูดถึงการเข้ามาชุมนุมกันของผู้เชื่อเพื่อมีสามัคคีธรรมและ นมัสการในวันสะบาโต (วันเสาร์) ไหนเลย แต่มีข้อพระคัมภีร์หลายข้อที่กล่าวถึงวันแรกของสัปดาห์ ยกตัวอย่างเช่น, หนังสือกิจการ 20:7 กล่าวว่า “ในวันต้นสัปดาห์เมื่อพวกสาวกประชุมกันทำพิธีหักขนมปัง” ใน 1 โครินธ์ 16:2 ท่านเปาโลหนุนใจผู้เชื่อชาวเมืองโครินธ์ว่า “ทุกวันต้นสัปดาห์ให้พวกท่านทุกคนเก็บผลประโยชน์ที่ได้รับไว้บ้าง” เนื่องจากท่านเปาโลได้ระบุให้การถวายทรัพย์นี้เป็น “การปรนิบัติ” ในหนังสือ 2 โครินธ์ 9:12 ดังนั้นการถวายนี้คงเกี่ยวข้องไปถึงการประชุมนมัสการของคริสเตียนในวัน อาทิตย์ ตามประวัติศาสตร์ วันอาทิตย์ ไม่ใช่วันเสาร์ คือวันประชุมตามปกติของคริสเตียนในคริสตจักร และการปฏิบัตินี้ยึดถือกันมาตั้งแต่สมัยศตวรรษแรก

วันสะบาโตเป็นวันที่ถูกกำหนดไว้สำหรับคนอิสราเอล วันสะบาโตยังคงเป็นวันเสาร์ ไม่ใช่วันอาทิตย์ และไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย แต่วันสะบาโตเป็นส่วนหนึ่งของธรรมบัญญัติในพันธสัญญาเดิม และคริสตเตียนเป็นอิสระแล้วจากพันธนาการแห่งธรรมบัญญัติ (กาลาเทีย 4:1-26; โรม 6:14) การรักษาวันสะบาโตไม่ได้เป็นข้อเรียกร้องสำหรับคริสเตียน ไม่ว่าจะเป็นวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ วันแรกของสัปดาห์ (วันอาทิตย์, วันขององค์พระผู้เป็นเจ้า) (วิวรณ์ 1:10) เป็นวันเฉลิมฉลองการทรงสร้างใหม่โดยมีพระคริสต์ทรงเป็นผู้นำที่ฟื้นคืนพระ ชนม์ เราไม่จำเป็นที่จะต้องยึดถือวันสะบาโตตามกฎของโมเสส (วันพักผ่อน) เพราะบัดนี้เราเป็นอิสระแล้วที่จะติดตามพระคริสต์ผู้ทรงฟื้นคืนพระชนม์ (ปรนิบัติ) อัครทูตเปาโลบอกว่าคริสเตียนแต่ละคนควรตัดสินใจว่าจะรักษาวันสะบาโตหรือไม่ “คนหนึ่งถือว่าวันหนึ่งดีกว่าอีกวันหนึ่ง แต่อีกคนหนึ่งถือว่าทุกวันเหมือนกัน ขอให้ทุกคนมีความแน่ใจในความคิดเห็นของตนเถิด” (โรม 14:5) เราสมควรที่จะนมัสการพระเจ้าทุกวัน ไม่ใช่เพียงแค่วันเสาร์หรือวันอาทิตย์เท่านั้น

อ้างอิงจาก:gotquestions.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น